ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) คือ ผลประโยชน์ส่วนตัวของเจ้าหน้าที่รัฐไปขัดแย้งกับผลประโยชน์ส่วนรวมแล้วต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้ตัดสินใจได้ยากในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดความเป็นธรรมและปราศจากอคติ
สรุปตัวอย่างโอกาสที่จะเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐกลุ่มต่างๆ
1. นักการเมือง
การรับเงินหรือผลประโยชน์อื่นใด เพื่อแต่งตั้ง หรือเลื่อนต าแหน่งข้าราชการขึ้นเป็นผู้บริหารระดับสูง
– การใช้อำนาจหน้าที่เพื่อให้บริษัทของตนหรือของพรรคพวกได้รับงาน/ การจ้างเหมาจากรัฐ
– การใช้ข้อมูลของทางราชการเพื่อแสวงหาประโยชน์
– การแต่งตั้งคนสนิท/พวกพ้องของตนเป็นกรรมการในหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแล (Regulators) สัญญาหรือสัมปทานของรัฐ
– การใช้ตำแหน่งหน้าที่เลือกผลักดันโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ญาติ/พวกพ้อง
2. ข้าราชการประจำและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ทั่วไป
– การนำข้อมูลลับ/ข้อมูลภายในมาใช้หาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือพวกพ้อง
– หัวหน้าหน่วยงานซึ่งครอบครัวประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างแต่งตั้งให้ญาติ/คนสนิท/คนที่มีความสัมพันธ์ฉันญาติขึ้นเป็นผู้อำนวยการกองพัสดุ
– การช่วยญาติมิตรหรือคนสนิทให้ได้งานในหน่วยงานที่ตนมีอำนาจ
– การรับผลประโยชน์หรือการเรียกร้องสิ่งตอบแทนจากการปฏิบัติงานในหน้าที่ความรับผิดชอบ
– การรับงานนอกหรือการทำธุรกิจที่เบียดบังเวลาราชการ/งานโดยรวมของหน่วยงาน
– การทำงานหลังเกษียณให้กับหน่วยงานที่มีผลประโยชน์ขัดกับหน่วยงานต้นสังกัดเดิม
– การนำรถราชการไปใช้ในกิจธุระส่วนตัว และในหลายกรณีมีการเบิกค่าน้ำมัน
– การนำบุคลากรของหน่วยงานไปใช้เพื่อการส่วนตัว
กลุ่มวิชาชีพที่เกี่ยวกับการตรวจสอบ ประเมินราคา และการจัดซื้อจัดจ้าง
– การหาผลประโยชน์จากความไม่รู้ในระเบียบและข้อมูลของทางราชการของประชาชนโดยเรียกรับเงินและอ้างว่าจะสามารถช่วยให้สามารถเสียค่าธรรมเนียมในการโอนกรรมสิทธิ์ซื้อขายที่ดินในราคาที่ถูกกว่าได้ ผู้บริหารสถาบันการเงินหวังก้าวหน้าในอาชีพจึงได้ร่วมมือและให้ความช่วยเหลือแก่นักการเมืองในการกู้เงินในวงเงินสูงในรูปแบบการประเมินราคาหลักทรัพย์ ค้ำประกันให้สูงเกินกว่าความเป็นจริง
– ผู้บริหารสถาบันการเงินใช้อำนาจหน้าที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอขายที่ดินหรือบ้านพร้อมที่ดินในโครงการของตนให้แก่ลูกค้าของสถาบันการเงิน เพื่อแลกกับความสะดวกในการทำธุรกิจกับสถาบันการเงิน
– เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีอากรได้เปิดสำนักงานบัญชีเพื่อทำบัญชีและรับจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จำกัดซึ่งในเวลาปฏิบัติงานก็จะเลือกให้บริการเฉพาะรายที่ตนเองได้รับประโยชน์จากผู้เสียภาษีเท่านั้น
– การกำหนดมาตรฐาน (Specification) ในสินค้าที่จะจัดซื้อจัดจ้างให้บริษัทของตนหรือของพวกพ้องได้เปรียบหรือชนะในการประมูล
– การให้ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างแก่พรรคพวก/ญาติ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในการประมูลหรือการจ้างเหมารวมถึงการปกปิดข้อมูล เช่น การปิดประกาศหรือเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารล่าช้า หรือพ้นกำหนด
3. ข้าราชการท้องถิ่น
3.1 การเข้ามาดำเนินธุรกิจและเป็นคู่สัญญากับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
– สมาชิกสภา/ผู้บริหารท้องถิ่นมาดำเนินธุรกิจกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนเป็นสมาชิก
– ญาติ/ภรรยา (อาจไม่ได้จดทะเบียน) ของผู้บริหารท้องถิ่นเป็นคู่สัญญาหรือรับเหมางานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
– สมาชิกสภา/ผู้บริหารท้องถิ่นเข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากบริษัท ห้างร้านในการยื่นซองประกวดราคา
– สมาชิกสภา/ผู้บริหารท้องถิ่นเป็นบุคคลร่วมเจรจาไกล่เกลี่ยในฐานะตัวแทนบริษัทห้างร้าน ในกรณีงานจ้างเหมามีปัญหา
– ผู้บริหารสภา/ผู้บริหารท้องถิ่นหาประโยชน์ส่วนตัวจากการเก็งก าไรจากราคาที่ดิน ทั้งในรูปของการใช้ข้อมูลภายในไปซื้อ ที่ดินไว้ก่อน หรืออาจเป็นในรูปแบบที่ก าหนดที่ตั้งโครงการในพื้นที่ที่ตนเองมีที่ดินอยู่เพื่อขายที่ดินของตนเองในราคาที่สูง
– องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำสัญญาเช่ารถไปสัมมนาและดูงานกับบริษัทซึ่งเป็นของสมาชิกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั่นเอง
– นายกเทศมนตรีและเทศมนตรีขายสินค้าหรือบริการของบริษัทตนเองให้กับเทศบาล
3.2 การใช้งบประมาณหลวงเพื่อประโยชน์ส่วนตนและเพื่อหาเสียง
– การจัดสรรงบประมาณหรือโครงการเข้าไปในพื้นที่ของตนเอง
– การใช้งบประมาณราชการทำโครงการพร้อมเขียนป้ายและชื่อของผู้ของบประมาณ ประกาศให้ชาวบ้านทราบเพื่อเป็นการหาเสียง
– การที่สมาชิกสภาท้องถิ่นซึ่งมีบทบาทในการอนุมัติและตรวจสอบการใช้งบประมาณของฝ่ายบริหารกลับไปมีส่วนในการใช้งบประมาณส่งผลต่อการทำหน้าที่ในการตรวจสอบและใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจอนุมัติเอนเอียงจากความถูกต้องและประโยชน์สาธารณะเนื่องจากต้องการงบที่เหลือจากการแปรญัตติไปดำเนินการในเขตพื้นที่ของตน
4. ประชาชน
– การเสนอให้ค่าน้ำร้อนน้ำชาให้แก่เจ้าหน้าที่เพื่อแลกกับการลัดคิวรับบริการ
Credit : http://www.thaischool1.in.th/