
ตัวแปร คือคำหรือวลี หรือแม้แต่ตัวอักษรเพียงตัวเดียว ที่ใช้สำหรับเก็บค่าของข้อมูลเพื่อนำไปใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของโปรแกรม
โดยส่วนใหญ่ ในภาษาโปรแกรมอื่น ๆ จะมีคำสั่งสำหรับประกาศตัวแปร เช่น var, let เป็นต้น แต่ในภาษา Python จะไม่มีคำสั่งสำหรับประกาศตัวแปร แต่ตัวแปรจะถูกสร้างขึ้นเมื่อมีการกำหนดค่าครั้งแรก เช่น
a = 5
b = 20
x = "surachet.COM"
y = False
จากตัวอย่าง เมื่อเราพิมพ์คำหรือวลีใด ๆ ตามด้วยเครื่องหมาย = และกำหนดค่าให้กับคำหรือวลีนั้น ๆ นั่นคือการสร้างตัวแปรในภาษาไพธอน
การประกาศตัวแปร
การประกาศตัวแปรมีเงื่อนไขที่ต้องคำนึงตามกฏการตั้งชื่อตัวแปรของภาษาไพธอน มีดังต่อไปนี้
1. ต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ห้ามใช้ตัวเลขหรือสัญลักษณ์ใด ๆ
2. ห้ามมีช่องว่าง หรือเว้นวรรค
3. ห้ามใช้เครื่องหมายต่อไปนี้ในการตั้งชื่อตัวแปร !,@, #, $, %, ^, &, *, (, ), -, =, \, |, +, ~
4. ห้ามตั้งชื่อตัวแปรซ้ำกับคำสงวน
5. ควรตั้งชื่อตัวแปรที่สื่อความหมายให้ชัดเจน เพื่อผู้อื่นตีความหมายได้เข้าใจ แต่ถ้ามีความยาวมากให้ย่อ
เช่น student_name ควรใช้ st_name เป็นต้น
6. ตัวแปรที่มีตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็กผสมกันจะมีความหมายต่างกับตัวพิมพ์เล็กเพียงอย่างเดียว เช่น St_Id แตกต่างจากตัวแปร st_id เป็นต้น
–
คำสงวน
คำสงวน คือ ชื่อหรือคำที่ภาษาไพธอนสงวนไว้เฉพาะเพื่อใช้เป็นคำสั่ง หรือมีไว้เพื่อเขียนเป็นโครงสร้างของตัวภาษาเอง ฉะนั้นผู้เขียนโปรแกรมจึงควรหลีกเลี่ยงคำสงวนเหล่านี้ในการตั้งชื่อโปรแกรม ตัวแปร หรือชื่อใด ๆ ก็ตามที่ตั้งขึ้นมาใหม่แล้วตรงกับคำสงวน คำสงวนมีด้วยกัน 31 คำดังต่อไปนี้
and, assert, break, class, continue, def, del, elif, else, except, exec, finally, for, from,global, if, import, in, is, lambda, not, or, pass, print, raise, return, try, while, yield
คำต่อไปนี้แม้ว่าไพธอนไม่ได้ห้ามไว้แต่ก็ไม่ควรใช้เพราะไปตรงกับชื่อของฟังก์ชันในไพธอน คือ
data, float, Int, numeric, Oxphys, array, close, int, input, open, range, type, write, zeros
คำต่อไปนี้ก็ควรหลีกเลี่ยงด้วย ถ้ามีการนำเข้า (import) ไลบรารี่ math มาใช้งาน คือ
acos, asin, atan, cos, e, exp, fabs, floor, log, log10, pi, sin, sqrt, tan